(Psychometric Chart)
ทำความเข้าใจแผนภูมิไซโครเมตริก (Psychometric Chart)
แผนภูมิไซโครเมตริก (Psychometric Chart) เป็นแผนภูมิที่บอกถึงรายละเอียดของอากาศที่สภาวะต่าง ๆ เชื่อว่าหลายท่านที่ทำงานในสายงานเครื่องกล
ทำความเข้าใจแผนภูมิไซโครเมตริก (Psychometric Chart)
อาจหาญ ณ นรงค์
แผนกวิศวกรรมและซ่อมบำรุง
บริษัท โยโกฮาม่า ไทร์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด
อาจหาญ ณ นรงค์
แผนกวิศวกรรมและซ่อมบำรุง
บริษัท โยโกฮาม่า ไทร์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด
แผนภูมิไซโครเมตริก (Psychometric Chart) เป็นแผนภูมิที่บอกถึงรายละเอียดของอากาศที่สภาวะต่าง ๆ เชื่อว่าหลายท่านที่ทำงานในสายงานเครื่องกล เช่น งานปรับอากาศและความเย็นคงจะรู้จักแผนภูมินี้ และการที่เราเข้าใจแผนภูมินี้จะทำให้เราเข้าใจถึงธรรมชาติและกระบวนการการเปลี่ยนแปลงของสภาวะของอากาศตลอดจนสามารถนำมาใช้งานและวิเคราะห์แก้ใขปัญหาในงานที่เกี่ยวข้องได้มากยิ่งขึ้น
รูปที่ 1 แผนภูมิไซโครเมตริก (Psychometric Chart)
ความสำคัญของอากาศและการใช้งาน เชื่อว่าทุกคนคงจะรู้จักอากาศ (Air) กันเป็นอย่างดี อากาศมีอยู่ทุก ๆ ที่เราทุกคนใช้อากาศในการหายใจ อากาศเป็นตัวช่วยในการติดไฟของเชื้อเพลิงในการหุงต้มหรือในเครื่องยนต์หรือเครื่องจักรต่าง ๆ ในงานด้านวิศวกรรมและการผลิต อากาศถูกนำมาใช้ประโยชน์ในกระบวนการต่าง ๆ มากมาย ดังนั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านนี้จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติ รายละเอียดตลอดจนธรรมชาติของอากาศซึ่งถ้าเราจะอธิบายกันแบบลอย ๆ นั้นก็ยากที่จะเข้าใจแผนภูมิ (Chart) หนึ่งที่จะนำมาอธิบายคุณสมบัติของอากาศได้ดีก็คือแผนภูมิไซโครเมตริก (Psychometric Chart) ซึ่งในแผนภูมิดังกล่าวจะรวบรวมความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ของอากาศให้ง่ายต่อการเข้าใจในรายละเอียด
คุณสมบัติสำคัญ ๆ ของอากาศ ในงานทางวิศวกรรม เช่น งานปรับอากาศหรือทำความเย็นนั้นคุณสมบัติต่าง ๆ ของอากาศเป็นสิ่งที่มีผลกับสิ่งที่เราต้องการควบคุม เช่น อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์และอื่น ๆ บทความต่อไปนี้จะอธิบายถึงคุณสมบัติต่าง ๆ ของอากาศเพื่อให้เป็นที่เข้าใจอย่างง่าย ๆ ดังนี้คือ
รูปที่ 2 การควบคุมอุณหภูมิและความชื้นในห้องปรับอากาศ
1. ความชื้น (Humidity) เราอาจได้ยินคำเหล่านี้มาบ้างแล้ว เช่น อากาศชื้น (Moist Air) หรืออากาศแห้ง (Dry Air) แต่บางทีเราอาจไม่เข้าใจว่าความหมายที่แท้จริงของคำเหล่านี้ว่ามันคืออะไร เรารู้ว่าก่อนฝนตกอากาศจะร้อนอบอ้าวจนเรารู้สึกอึดอัด หรือในหน้าหนาวผิวหนังของเราจะแห้งจนแตกหรือผ้าที่เราตากไว้จะแห้งเร็วกว่าปกติทั้ง ๆ ที่อุณหภูมิของอากาศต่ำ ทั้งหมดที่หยิบยกมาเป็นตัวอย่างเบื้องต้นนั้นเกี่ยวกับความชื้นทั้งสิ้น
ถ้าจะพูดให้เข้าใจกันแบบง่าย ๆ ความชื้น (Moisture) คือ อัตราส่วนของไอน้ำที่ปะปนอยู่ในอากาศต่อจำนวนอากาศที่อ้างอิงอากาศที่มีไอน้ำปะปนอยู่มากเราเรียกว่าอากาศชื้นหรืออากาศเปียก เช่นลมระบายความร้อนที่ออกมาจากคูลลิ่งทาวเวอร์ (Cooling Townwer) หรืออากาศก่อนที่ฝนจะตกจะมีอัตราส่วนของไอน้ำที่ผสมอยู่ในอากาศมากจึงทำให้เรารู้สึกร้อนอบอ้าวและอึดอัดเพราะเมื่อปริมาณไอน้ำในอากาศมีมากจะส่งผลให้เหงื่อหรือน้ำที่ผิวหนังของเรานั้นระเหยตัวยากจึงทำให้เรารู้สึกร้อนอบอ้าว
ดังที่กล่าวมาแล้วตั้งแต่ข้างต้นว่าความชื้นคือจำนวนไอน้ำที่ปนอยู่ในอากาศ จากรูปที่ 3 ถ้าเราเอาอากาศจำนวนหนึ่งมากำจัดความชื้นออกให้หมดเราจะเรียกอากาศที่ไม่มีไอน้ำเจือปนอยู่ว่า “อากาศแห้ง (Dry Air)” ดังรูปที่ 3ก จากนั้นถ้าเราค่อย ๆ ปล่อยไอน้ำข้าไปในอากาศดังกล่าวเรื่อย ๆ ดังรูปที่ 3ข เมื่ออากาศมีไอน้ำผสมอยู่เราเรียกอากาศนั้นว่า “อากาศชื้น” ซึ่งหมายถึงอากาศที่มีไอน้ำปะปนอยู่ ซึ่งก็เหมือนกับอากาศในบรรยากาศบนโลกของเรานั่นเอง ในตอนแรกที่เราเริ่มปล่อยไอน้ำเข้าไปผสมปะปนกับอากาศนั้นปริมาณไอน้ำในอากาศจะมีน้อย อากาศจะสามารถรองรับไอน้ำจำนวนดังกล่าวไว้ได้ แต่เมื่อปริมาณไอน้ำเพิ่มไปถึงจุดหนึ่งที่อากาศไม่สามารถรองรับปริมาณไอน้ำดังกล่าวไว้ได้ ไอน้ำส่วนที่เกินก็จะเริ่มกลั่นตัวกลายเป็นหยดน้ำ ซึ่งเราจะเรียกว่า “จุดอิ่มตัวของไอน้ำในอากาศ” หรือเรียกอากาศที่จุดนี้ว่า “อากาศอิ่มตัว (Saturated Air)” ซึ่งก็คือสภาวะที่อากาศไม่สามารถที่จะดูดซับไอน้ำไว้ในตัวมันได้อีกแล้ว ในแผนภูมิไซโครเมตริกเส้นอากาศอิ่มตัว (Saturated Air Line) คือเส้นโค้งที่อยู่ทางด้านซ้ายของแผนภูมิไซโครเมตริก ดังรูปที่ 4
ดังที่กล่าวมาแล้วตั้งแต่ข้างต้นว่าความชื้นคือจำนวนไอน้ำที่ปนอยู่ในอากาศ จากรูปที่ 3 ถ้าเราเอาอากาศจำนวนหนึ่งมากำจัดความชื้นออกให้หมดเราจะเรียกอากาศที่ไม่มีไอน้ำเจือปนอยู่ว่า “อากาศแห้ง (Dry Air)” ดังรูปที่ 3ก จากนั้นถ้าเราค่อย ๆ ปล่อยไอน้ำข้าไปในอากาศดังกล่าวเรื่อย ๆ ดังรูปที่ 3ข เมื่ออากาศมีไอน้ำผสมอยู่เราเรียกอากาศนั้นว่า “อากาศชื้น” ซึ่งหมายถึงอากาศที่มีไอน้ำปะปนอยู่ ซึ่งก็เหมือนกับอากาศในบรรยากาศบนโลกของเรานั่นเอง ในตอนแรกที่เราเริ่มปล่อยไอน้ำเข้าไปผสมปะปนกับอากาศนั้นปริมาณไอน้ำในอากาศจะมีน้อย อากาศจะสามารถรองรับไอน้ำจำนวนดังกล่าวไว้ได้ แต่เมื่อปริมาณไอน้ำเพิ่มไปถึงจุดหนึ่งที่อากาศไม่สามารถรองรับปริมาณไอน้ำดังกล่าวไว้ได้ ไอน้ำส่วนที่เกินก็จะเริ่มกลั่นตัวกลายเป็นหยดน้ำ ซึ่งเราจะเรียกว่า “จุดอิ่มตัวของไอน้ำในอากาศ” หรือเรียกอากาศที่จุดนี้ว่า “อากาศอิ่มตัว (Saturated Air)” ซึ่งก็คือสภาวะที่อากาศไม่สามารถที่จะดูดซับไอน้ำไว้ในตัวมันได้อีกแล้ว ในแผนภูมิไซโครเมตริกเส้นอากาศอิ่มตัว (Saturated Air Line) คือเส้นโค้งที่อยู่ทางด้านซ้ายของแผนภูมิไซโครเมตริก ดังรูปที่ 4
1.1 อัตราส่วนความชื้น (Humidity Ratio, ) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าค่าความชื้นจำเพาะ (Specific Humidity) คืออัตราส่วนระหว่างมวลของไอน้ำในอากาศ (mv) กับมวลของอากาศแห้ง(ma) ที่ปริมาตรอากาศที่พิจารณา ดังสมการที่ 1
เช่น สภาวะหนึ่งมีไอน้ำอยู่ในอากาศ 8 กรัมต่อปริมาตรอากาศ 1 m3 โดยที่น้ำหนักของอากาศแห้ง (ไม่รวมน้ำหนักไอน้ำ) ตรงจุดนั้นเท่ากับ 0.88 kg/m3 ดังนั้นอัตราส่วนความชื้นที่สภาวะดังกล่าวจะเท่ากับ 1/0.88= 9.1 gvapour/ kgDry Air
ในแผนภูมิไซโครเมตริกเส้นอัตราส่วนความชื้น (Humidity Ratio Line) เป็นเส้นที่ลากจากเส้นไอน้ำอิ่มตัว (Saturated Vapor) จากด้านซ้ายมือไปยังด้านขวามือดังรูปที่ 4 โดยที่ค่าอัตราส่วนความชื้นด้านล่างจะน้อยเพราะอุณหภูมิต่ำส่วนที่อุณหภูมิสูงอัตราส่วนความชื้นก็จะเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งอัตราส่วนความชื้นที่ปรากฏในแผนภูมิไซโครเมตริกจะเป็นอัตราส่วนมวลของไอน้ำในอากาศเป็นกรัมต่อมวลอากาศแห้งเป็นกิโลกรัม (gvapor/kgDry Air)
รูปที่ 3 แสดงลักษณะอากาศที่สภาวะต่าง ๆ
รูปที่ 4 แสดงเส้นอัตราส่วนความชื้น (Humidity Ratio Line)
1.2 ความชื้นสัมพัทธ์ (Relative Humidity or RH, ) คือความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนมวลของไอน้ำในอากาศต่อจำนวนมวลของไอน้ำอิ่มตัวในสภาวะที่พิจารณา เพื่อความเข้าใจให้พิจารณารูปที่ 4 และรูปที่ 5 ในรูปที่ 5ก เป็นถังที่มีปริมาตร 1 m3บรรจุอากาศแห้ง อุณหภูมิอากาศภายในถัง 20 เซลเซียส ที่ความดันบรรยากาศในถังไม่มีไอน้ำปะปนอยู่ในอากาศดังนั้นถังใบนี้จึงมีความชื้นสัมพัทธ์เท่ากับ 0 เปอร์เซ็นต์ ต่อมาเราเปิดวาล์วและค่อย ๆ ปล่อยไอน้ำเข้าไปในถังเรื่อย ๆ ถึงตอนนี้ในถังก็จะมีไอน้ำผสมอยู่ อากาศในถังก็จะเป็นอากาศชื้นดังรูปที่ 5ข และเมื่อเรายังคงปล่อยไอน้ำเข้าไปเรื่อย ๆ จนปริมาณไอน้ำที่ผสมอยู่ในอากาศมากจนอากาศไม่สามารถรองรับปริมาณไอน้ำไว้ได้ไอน้ำส่วนเกินเหล่านั้นก็จะกลั่นตัวกลายเป็นหยดน้ำอยู่ที่ก้นถังดังรูปที่5ค
ปริมาณไอน้ำสูงสุดที่อากาศจะรับไว้ได้นี้ก็จะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของอากาศยิ่งอากาศมีอุณหภูมิสูงจำนวนใอน้ำที่อากาศสามารถอุ้มไว้ได้ก็จะยิ่งสูงตามไปด้วย
รูปที่ 5 แสดงสภาวะต่าง ๆ ของไอน้ำในอากาศ
รูปที่ 6 กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความชื้นสัมพัทธ์กับปริมาณไอน้ำในอากาศ
ตารางที่ 1 ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณไอน้ำที่อากาศสามารถรับไว้ได้กับอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์
จากตารางที่ 1 แสดงปริมาณไอน้ำที่อากาศสามารถรับไว้ได้ที่อุณหภูมิต่าง ๆ เช่น ที่อุณหภูมิ 20 เซลเซียส ความดันบรรยากาศ อากาศสามารถรองรับไอน้ำไว้ได้สูงสุดเป็นจำนวน 17.3 กรัมต่อปริมาตรอากาศ 1m3 ซึ่งจุดนี้เองคือจุดที่มีความชื้นสัมพัทธ์เท่ากับ 100% (100% RH) จากข้างต้นทำให้เราเข้าใจแล้วว่าจุดที่ความชื้นสัมพัทธ์ 100% คือจุดที่มีปริมาณไอน้ำในอากาศจำนวนมากที่สุดที่อากาศสามารถรองรับไว้ได้ ดังนั้นที่ความชื้นสัมพัทธ์ต่าง ณ อุณหภูมิที่นำมาพิจารณาก็คือจะพิจารณาปริมาณไอน้ำในอากาศศที่ 100% ของอุณหภูมินั้น ๆ เปรียบเทียบกับปริมาณไอน้ำในอากาศที่มีอยู่จริง ณ อุณหภูมินั้น ๆ เช่นที่อุณหภูมิ 20 เซลเซียส อากาศสามารถรองรับไอน้ำไว้ได้สูงสุด 17.3 กรัมvapor/ m3Dry Air ที่ความชื้นสัมพัทธ์ 50% ก็จะมีปริมาตรไอน้ำเป็นครึ่งหนึ่งคือ (17.3/2) = 8.65 กรัมvapor/m3Dry Air และที่ความชื้นสัมพัทธ์ 25% ปริมาณไอน้ำในอากาศก็จะมีอยู่ (17.3/4) = 4.325 กรัมvapor/ m3Dry Air ซึ่งนอกจากนั้นเราสามารถที่จะหาเปอร์เซ็นต์ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศได้จากสมการ
เส้นแสดงความชื้นสัมพัทธ์ในไซโครเมตริกชาร์ทดังแสดงในรูปที่ 7 โดยเส้นแรกทางขวามือสุดหรือเส้นที่อยู่ด้านนอกคือเส้นความชื้นสัมพัทธ์ 100% นั้นจะเป็นเส้นเดียวกับเส้นอากาศอิ่มตัว (Saturated Air Line) หรือจุดที่อากาศสามารถรองรับปริมาณไอน้ำได้สูงสุดที่อุณหภูมิต่าง ๆ
ถัดมาจากเส้นความชื้นสัมพัทธ์ 100% ค่าความชื้นสัมพัทธ์ก็จะลดต่ำลงมาเรื่อย ๆ
อากาศที่มีปริมาณความชื้นอยู่เท่า ๆ กันแต่เมื่ออุณหภูมิลดต่ำลงค่าความชื้นสัมพัทธ์จะสูงขึ้นเรื่อย ๆ ดังรูป
รูปที่ 7 แสดงเส้นความชื้นสัมพัทธ์ (Relative Humidity Line)
2. ปริมาตรจำเพาะของอากาศ (Specific Volume, )ปริมาตรจำเพาะ คืออัตราส่วนระหว่างปริมาตร (Volume) ต่อมวล (Mass) ของอากาศ มีหน่วยเป็นลูกบาศก์เมตรต่อกิโลกรัม (m3/kg) ในระบบ SI เป็นที่ทราบกันดีว่าอากาศมีคุณสมบัติในการขยายตัวตามอุณหภูมิที่ความดันคงที่ (Constant Pressure) ในสภาวะความดันคงที่ถ้าอุณหภูมิต่ำอากาศจะมีปริมาตรจำเพาะน้อยหมายถึงน้ำหนักอากาศต่อหน่วยปริมาตรจะมากในทางตรงกันข้ามถ้าอุณหภูมิขออากาศสูงขึ้นอากาศจะขยายตัวออกทำให้ปริมาตรจำเพาะของอากาศของอากาศมากขึ้น ซึ่งก็คือน้ำหนักของอากาศต่อหน่วยปริมาตรจะลดลงหรืออากาศเบาขึ้นนั่นเอง
ตัวอย่างเช่นอากาศที่ความดันบรรยากาศอุณหภูมิ 15 ๐C ความชื้นสัมพัทธ์ 60% จะมีปริมาตรจำเพาะเท่ากับ 0.825 m3/kg (1.21 kg/m3) แต่ถ้าอุณหภูมิเปลี่ยนไปเป็น 25 ๐C ที่ความชื้นสัมพัทธ์ 60% เท่าเดิม ปริมาตรจำเพาะของอากาศจะเท่ากับ 0.861 m3/kg (1.16kg/m3) จะเห็นว่าอุณหภูมิเปลี่ยนไป 10 ๐C แต่ปริมาตรจำเพราะอากาศเปลี่ยนไป 4.4% ในการคำนวณเราจะสามารถใช้ค่าปริมาตรจำเพาะสำหรับหาอัตราการไหลเชิงปริมาตร (G) หรืออัตราการไหลเชิงมวล (m) ของอากาศ สำหรับเส้นแสดงปริมาตรจำเพาะที่อยู่ในไซโครเมตริกชาร์ตนั้นจะเป็นเส้นทะแยงจากซ้ายไปขวา โดยเส้นที่อยู่ด้านล่างจะมีค่าปริมาตรจำเพาะน้อยและเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ไปสู่ด้านบนดังรูปที่ 7
รูปที่ 8 แสดงเส้นปริมาตรจำเพาะ (Specific Volume)
3. อุณหภูมิ (Temperature)เมื่อพูดถึงอุณหภูมิเราจะนึกถึงความร้อนและความเย็นของอากาศ เรารู้ว่าในห้องปรับอากาศจะมีความเย็นกว่ากลางแดดจ้าในหน้าร้อน ในช่องแช่แข็งของตู้เย็นจะเย็นกว่าในห้องปรับอากาศ อุณหภูมินอกจากจะเป็นตัวบ่งบอกถึงความร้อนหรือเย็นแล้วยังเป็นตัวที่บ่งบอกถึงระดับพลังงานที่มีอยู่ในอากาศ อากาศที่ร้อนย่อมจะมีพลังงานอยู่ในตัวเองมากกว่าอากาศที่เย็น อุณหภูมิของอากาศแบ่งออกเป็นสองชนิดซึ่งมีความสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออกซึ่งก็คือ
3.1 อุณหภูมิกระเปาะแห้ง (Dry Bulb Temperature, Tdb) คืออุณหภูมิที่วัดจากเทอร์โมมิเตอร์ธรรมดา เช่น เราอยากรู้ว่าตอนนี้อุณหภูมิเท่าไหร่เราก็อ่านค่าจากเทอร์โมมิเตอร์ที่ติดอยู่ที่ฝาผนัง ค่าอุณหภูมิดังกล่าวคืออุณหภูมิกระเปาะแห้ง ในแผนภูมิไซโครเมตริกจะเป็นเส้นตามแนวตั้งอยู่ในแผนภูมิโดยค่าจะเรียงตั้งแต่น้อยไปหามากจากซ้ายมือไปยังขวามือ ดังรูปที่9
รูปที่ 9 เส้นอุณหภูมิกระเปาะแห้งบนแผนภูมิไซโครเมตริก
3.2 อุณหภูมิกระเปาะเปียก (Wet Bulb Temperature, Twb) ก่อนที่เราจะมาพูดกันต่อเรื่องอุณหภูมิกระเปาะเปียกกัน อยากให้เรามารู้จักกับคำว่ากระเปาะกันก่อน ซึ่งกระเปาะ (Bulb) ก็คือส่วนปลายที่ใช้รับอุณหภูมิของเทอร์โมมิเตอร์แบบปรอทที่เราใช้แหย่ไปยังจุดที่ต้องการวัด ในตอนแรกที่กล่าวถึงอุณหภูมิกระเปาะแห้งซึ่งก็คือในตอนที่ทำการวัดนั้นกระเปาะรับอุณหภูมิของเทอร์โมมิเตอร์จะต้องแห้งจึงทำให้อุณหภูมิที่วัดได้จึงเป็นอุณหภูมิแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ เทอร์โมมิเตอร์ตัวนั้น ดังรูปด้านบนของรูปที่ 10
สำหรับการวัดอุณหภูมิกระเปาะเปียกนั้นในการวัดก็ใช้เทอร์โมมิเตอร์แบบเดียวกับที่วัดแบบกระเปาะแห้ง แต่ที่กระเปาะปลายเทอร์โมมิเตอร์จะเอาผ้าชุบน้ำพอชุ่ม ๆ พันกระเปาะเอาไว้และในตอนวัดก่อนที่จะอ่านก็จะต้องทำให้ปลายกระเปาะเปียกดังกล่าวเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว ๆ หนึ่ง โดยปกติในการวัดจะใช้เชือกผูกและเหวี่ยงตัวเทอร์โมมิเตอร์กระเปาะเปียกดังกล่าวให้เคลื่อนที่สักพักนึงแล้วจึงอ่านค่าอุณหภูมิ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าถ้าความชื้นในอากาศขณะที่ทำการวัดน้อยเวลาที่เทอร์โมมิเตอร์กระเปาะเปียกเคลื่อนที่ผ่านอากาศก็จะทำให้ความชื้นที่อยู่ที่ผ้าชุบน้ำดังกล่าวระเหยได้ง่ายเพราะความชื้นในอากาศมีน้อย
รูปที่ 10 เทอร์โมมิเตอร์แบบกระเปาะแห้งและแบบกระเปาะเปียก เมื่อรวมกันจะเรียก Sling Phychrometer
ในกระบวนการการระเหยของความชื้นของผ้าชุบน้ำที่ติดอยู่ที่ปลายเทอร์โมมิเตอร์แบบกระเปาะเปียกนั้นจะดูดความร้อนรอบ ๆ ตัวกระเปาะมาทำให้ความชื้นเปลี่ยนสถานะจากของเหลวกลายเป็นไอ ดังนั้นจึงทำให้อุณหภูมิที่วัดได้หรืออุณหภูมิกระเปาะเปียกจะต่ำกว่าาอุณหภูมิกระเปาะแห้ง ในกรณีที่ในอากาศมีความชื้นอยู่มาก ความชื้นที่ผ้าที่หุ้มกระเปาะไว้จะระเหยได้ยากดังนั้นความร้อนที่ใช้ในการระเหยตัวก็จะน้อยส่งผลให้ค่าที่วัดได้จะไกล้เคียงกับอุณหภูมิกระเปาะแห้ง
ดังที่กล่าวข้างต้นอุณหภูมิกระเปาะเปียกจะเป็นตัวบ่งชี้ถึงปริมาณความชื้นที่มีอยู่ในอากาศในจุดที่ทำการวัด ถ้าความชื้นในอากาศน้อยความแตกต่างของอุณหภูมิกระเปาะแห้งกับอุณหภูมิกระเปาะเปียกจะมาก และถ้าความชื้นในอากาศมากความแตกต่างของอุณหภูมิที่วัดได้จะน้อย และอุณหภูมิกระเปาะแห้งกับกระเปาะเปียกจะเท่ากันที่เส้นอากาศอิ่มตัว (Saturated Temperature) หรือจุดที่ความชื้นสัมพัทธ์เท่ากับ 100% สำหรับเส้นอุณหภูมิกระเปาะเปียกที่อยู่ในแผนภูมิไซโครเมตริกนั้นจะเป็นดังรูปที่ 11 โดยจะเอียงทแยงจากซ้ายไปขวาและค่าจะเพิ่มขึ้นจากน้อยไปมากจากด้านซ้ายไปยังด้านขวา
รูปที่ 11 เส้นอุณหภูมิกระเปาะเปียกบนแผนภูมิไซโครเมตริก
3.3 อุณหภูมิหยดน้ำค้าง (Dew Point Temperature) คือ “อุณหภูมิที่ความชื้นในอากาศเริ่มกลั่นตัวเป็นหยดน้ำเมื่ออากาศถูกลดอุณหภูมิที่ความดันคงที่” หรืออีกนัยยะหนึ่งก็คืออุณหภูมิอิ่มตัวของไอน้ำเมื่อเปรียบเทียบกับความดันของไอน้ำดัง
สมการ Tdp = Tsat@pv …………. (5)
โดยที่ Pv คือแรงดันย่อยของไอน้ำที่อุณหภูมิจุดไอน้ำอิ่มตัว ณ อุณหภูมิที่อ้างอิง, kN/m2
สมการ Tdp = Tsat@pv …………. (5)
โดยที่ Pv คือแรงดันย่อยของไอน้ำที่อุณหภูมิจุดไอน้ำอิ่มตัว ณ อุณหภูมิที่อ้างอิง, kN/m2
เพื่อให้เรานึกภาพของอุณหภูมิหยดน้ำค้างออกให้เรานึกถึงหยดน้ำที่เกาะอยู่ด้านข้างของแก้วน้ำเย็น หรือหยดน้ำค้างที่เกาะอยู่ตามยอดหญ้าในตอนเช้าของฤดูร้อน ลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้นได้ก็เนื่องจากการที่อากาศที่มีความชื้นสูงถูกลดอุณหภูมิลง ทำให้ความสามารถในการรองรับความชื้นในอากาศที่อุณหภูมิต่ำลดลง ดังนั้นปริมาณความชื้นในอากาศที่เกินจากความสามารถในการรองรับของอากาศที่อุณหภูมิต่ำลง จึงกลั่นตัวกลายเป็นหยดน้ำ
ตารางที่ 2 ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณไอน้ำที่อากาศสามารถรับไว้ได้กับอุณหภูมิความชื้นสัมพัทธ์และอุณหภูมิหยดน้ำค้าง
- ข้อมูลในตารางเป็นข้อมูลที่ได้จากการคำนวณอาจมีความคลาดเคลื่อนในบางค่า
ตัวอย่าง (ดูตารางที่ 2 ประกอบ) ในฤดูร้อนวันหนึ่งอากาศมีอุณหภูมิ35 C?ความชื้นสัมพัทธ์ 60% ในอากาศมีไอน้ำปะปนอยู่ที่ 23.8 กรัม/อากาศ 1m3 เมื่อเวลาผ่านกลางคืนไปจนถึงตอนเช้าอุณหภูมิลดลงเหลือ 20 เซลเซียส ซึ่งที่อุณหภูมินี้เราจะเห็นว่าอากาศสามารถที่จะรองรับไอน้ำได้สูงสุด (RH100%) เพียง 17.3 กรัม/อากาศ 1m3 ดังนั้นไอน้ำจำนวน (23.8-17.3) = 6.5กรัม/อากาศ 1m3 จะกลั่นตัวกลายเป็นหยดน้ำเกาะอยู่ตามยอดหญ้าหรือวัตถุที่มีอุณหภูมิเดียวกับอากาศบริเวณนั้น จากหลักการนี้เรายังสามารถประยุกต์ใช้ในอุปกรณ์ลดความชื้นหลายชนิดในงานอุตสาหกรรม
อุณหภูมิหยดน้ำค้างของอากาศที่จุดต่าง ๆ สามารถหาได้ในไซโครเมตริก โดยลากเส้นจากจุดนั้นขนานไปกับเส้นปริมาตรจำเพาะไปทางขวามือไปชนกับเส้นอากาศอิ่มตัว
รูปที่ 12 แสดงการหาจุดน้ำค้างที่สภาวะที่กำหนด
4. เส้นอากาศอิ่มตัว (Saturation Line, Air saturation line) เป็นเส้นที่อยู่ในแนวเดียวกันเส้นความชื้นสัมพัทธ์ด้านนอกสุดซ้ายมือในแผนภูมิไซโครเมตริกหรือเป็นเส้นปิดแผนภูมิไซโครเมตริกทางด้านซ้ายมือ จริง ๆ แล้วเส้นอากาศอิ่มตัวก็คือเส้นความชื้นสัมพัทธ์100%(100%RH) ดังในรูปที่ 6 และรูปที่ 13 นั่นเอง ดังที่กล่าวมาแล้วในหัวข้อเรื่องความชื้นสัมพัทธ์ว่าจุดอากาศอิ่มตัวก็คือจุดที่อากาศ ณ อุณหภูมินั้น ๆ สามารถรองรับไอน้ำไว้ได้มากที่สุดสำหรับจำนวนไอน้ำที่อากาศสามารถรับไว้ได้มากที่สุดที่อุณหภูมิต่าง ๆ นั้นดังแสดงในช่องความชื้นสัมพัทธ์ 100 % (100%RH) ในตารางที่ 1 และตารางที่ 2
5. เอลทาลปี้ (Enthalpy)ในทางเทอร์โมไดนามิกค่าเอลทาลปี้ (Enthalpy) คือค่าที่เป็นตัวบ่งบอกถึงระดับพลังงานของของไหลซึ่งรวมถึงอากาศด้วย ซึ่งเป็นค่าพลังงานภายในของของไหลบวกกับพลังงานเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของความดันและปริมาตร (PV) ของของไหลดังสมการ
สำหรับค่าเอลทาลปี้เราสามารถเปิดได้จากตารางไอน้ำอิ่มตัวในตำราเทอร์โมไดนามิกต่าง ๆ ได้ ความสัมพันธ์ของคุณสมบัติทั้งสามอย่างข้างต้นมักจะรวมอยู่ในรูป u + pv ดังนั้นเพื่อเป็นความสะดวกในการคำนวณเราจึงให้คำจำกัดความเรียกผลรวมของความสัมพันธ์ของคุณสมบัติทั้งสามตัวว่าเอลทาลปี้ (Enthalpy, h) โดยที่ถ้าเป็นเอลทาลปี้ต่อหน่วยมวลเราจะเรียกว่าเอลทาลปี้จำเพาะมีหน่วยเป็น พลังงานต่อมวลเช่น kJ/kg สำหรับของไหลที่ความดันบรรยากาศค่าเอลทาลปี้จะเปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิโดยที่ถ้าอุณหภูมิมากค่าเอลทาลปี้จะมากตามไปด้วย เช่น อากาศที่อุณหภูมิสูงจะมีค่าเอลทาลปี้มากกว่าอากาศที่อุณหภูมิต่ำ เช่นถ้าเราต้องการที่จะลดอุณหภูมิอากาศจากอุณหภูมิ 40 เซลเซียส ที่ความชื้นสัมพัทธ์หนึ่งให้เหลือ 20 เซลเซียส ที่ความชื้นสัมพัทธ์หนึ่งเราก็เอาค่าเอลทาลปี้ของจุดแรกไปลบเอลทาลปี้ที่จุดหลังเราก็สามารถคำนวณภาระทางความร้อนของกระบวนการลดอุณหภูมิในกระบวนการดังกล่าวได้
การหาค่าเอลทาลปี้ของอากาศแห้งและอากาศชื้นสามารถคำนวณได้จากสมการ
รูปที่ 13 เส้นแสดงค่าเอลทาลปี้
เส้นแสดงระดับค่าเอลทาลปี้ในแผนภูมิไซโครเมตริกนั้นจะอยู่ด้านซ้ายมือหรือด้านหน้าของเส้นอากาศอิ่มตัวดังรูปที่ 13 โดยที่ค่าเอลทาลปี่จะเพิ่มจากน้อยไปหามากตามระดับของอุณหภูมิของอากาศที่เพิ่มขึ้นตามทิศทางของลูกศรที่แสดงในรูป สำหรับการหาค่าเอลทาลปี้ที่จุดต่าง ๆ ตามสภาวะอากาศหลังจากที่เราพลอตจุดในไซโครเมตริกชาร์ทได้แล้วเราก็ลากเส้นตรงในแนวระนาบมาตัดกับเส้นอากาศอิ่มตัวทางซ้ายมือและเอาค่าที่จุดตัดนั้นมาดูว่าตรงกับค่าเอลทาลปี้เท่าได
6. การศึกษากระบวนการเปลี่ยนแปลงสภาวะของอากาศโดยใช้แผนภูมิไซโครเมตริกในกระบวนการเปลี่ยนแปลงสภาวะของอากาศแผนภูมิไซโครเมตริกจะเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้เรามองการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นและสามารถนำมาคิดคำนวณหาพลังงานและทำให้เรารู้ค่าตัวแปลต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องใช้สูตรในการคำนวณให้ยุ่งยากโดยที่กระบวนการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้นเราสามารถพิจารณาด้วยไซโครเมตริกชาร์ทได้ดังนี้
6.1 กระบวนการเพิ่มและลดความร้อน (Heating and Cooling Process)
6.1.1 กระบวนการเพิ่มความร้อน (Heating Process) คือกระบวนการที่ในระหว่างกระบวนการหรือจากการเปลี่ยนแปลงจากสภาวะหนึ่งไปยังอีกสภาวะหนึ่ง ความร้อนของอากาศจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นที่สภาวะความดันคงที่ ตัวอย่างเมื่อเราให้ความร้อนกับอากาศที่ความดันคงที่ อุณหภูมิของอากาศจะเพิ่มขึ้นและส่งผลให้ปริมาตรจำเพาะของอากาศเพิ่มขึ้นหรืออากาศมีน้ำหนักเบาขึ้นเพราะอากาศเกิดการขยายตัว ในขณะที่ไอน้ำในอากาศมีเท่าเดิม และค่าความชื้นสัมพัทธ์จะลดลงเพราะอากาศสามารถรองรับไอน้ำที่ปะปนอยู่ได้เพิ่มขึ้นดังรูปที่ 14 สำหรับกระบวนการนี้ส่วนใหญ่ก็จะเป็นกระบวนการอบเพื่อลดความชื้นกับวัสดุหรือผืชผลทางการเกษตรต่าง ๆ สำหรับความร้อนที่เกิดขึ้นในกระบวนการนี้จะเป็นความร้อนสัมผัส (Sensible Heat) หรือความร้อนที่ทำให้อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นเป็นส่วนใหญ่ ในส่วนของกระบวนการให้ความร้อน (Heating) ในไซโครเมตริกชาร์ตนั้นจะเป็นเส้นในแนวขนานกับแกนอุณหภูมิกระเปาะแห้ง (Tdb) ในทิศทางห่างออกไปจากเส้นอากาศอิ่มตัวดังรูปที่ 14
6.1.2 กระบวนการลดความร้อน (Cooling Process) คือกระบวนการที่ในระหว่างกระบวนการนั้นอุณหภูมิของอากาศจะลดลงที่ความดันคงที่ เช่น ในระบบการปรับอากาศ เมื่อเราเริ่มต้นเปิดเครื่องปรับอากาศก็จะทำให้อุณหภูมิในห้องปรับอากาศค่อย ๆ ลดลงที่ความดันคงที่ และผลจากกระบวนการนี้ก็จะทำให้ปริมาตรจำเพาะของอากาศจะลดลง หรืออากาศมีความหนาแน่นขึ้นและจะทำให้ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศมากขึ้นตามไปด้วย
6.1.1 กระบวนการเพิ่มความร้อน (Heating Process) คือกระบวนการที่ในระหว่างกระบวนการหรือจากการเปลี่ยนแปลงจากสภาวะหนึ่งไปยังอีกสภาวะหนึ่ง ความร้อนของอากาศจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นที่สภาวะความดันคงที่ ตัวอย่างเมื่อเราให้ความร้อนกับอากาศที่ความดันคงที่ อุณหภูมิของอากาศจะเพิ่มขึ้นและส่งผลให้ปริมาตรจำเพาะของอากาศเพิ่มขึ้นหรืออากาศมีน้ำหนักเบาขึ้นเพราะอากาศเกิดการขยายตัว ในขณะที่ไอน้ำในอากาศมีเท่าเดิม และค่าความชื้นสัมพัทธ์จะลดลงเพราะอากาศสามารถรองรับไอน้ำที่ปะปนอยู่ได้เพิ่มขึ้นดังรูปที่ 14 สำหรับกระบวนการนี้ส่วนใหญ่ก็จะเป็นกระบวนการอบเพื่อลดความชื้นกับวัสดุหรือผืชผลทางการเกษตรต่าง ๆ สำหรับความร้อนที่เกิดขึ้นในกระบวนการนี้จะเป็นความร้อนสัมผัส (Sensible Heat) หรือความร้อนที่ทำให้อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นเป็นส่วนใหญ่ ในส่วนของกระบวนการให้ความร้อน (Heating) ในไซโครเมตริกชาร์ตนั้นจะเป็นเส้นในแนวขนานกับแกนอุณหภูมิกระเปาะแห้ง (Tdb) ในทิศทางห่างออกไปจากเส้นอากาศอิ่มตัวดังรูปที่ 14
6.1.2 กระบวนการลดความร้อน (Cooling Process) คือกระบวนการที่ในระหว่างกระบวนการนั้นอุณหภูมิของอากาศจะลดลงที่ความดันคงที่ เช่น ในระบบการปรับอากาศ เมื่อเราเริ่มต้นเปิดเครื่องปรับอากาศก็จะทำให้อุณหภูมิในห้องปรับอากาศค่อย ๆ ลดลงที่ความดันคงที่ และผลจากกระบวนการนี้ก็จะทำให้ปริมาตรจำเพาะของอากาศจะลดลง หรืออากาศมีความหนาแน่นขึ้นและจะทำให้ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศมากขึ้นตามไปด้วย
รูปที่ 14 แสดงทิศทางของการลดและเพิ่มอุณหภูมิ
ดังนั้นในกระบวนการปรับอากาศของพื้นที่ปรับอากาศจึงจะต้องมีกระบวนการลดความชื้นตามมาด้วย ซึ่งจะกล่าวถึงในตอนหลัง เมื่อเราพิจารณาในแผนภูมิไซโครเมตริกเราจะเห็นว่ากระบวนการลดความร้อนของอากาศนี้จะมีทิศทางของอุณหภูมิตรงกันข้ามกับกระบวนการเพิ่มความร้อนของอากาศ โดยที่กระบวนการที่เกิดขึ้นนั้นจะเริ่มจากสภาวะเริ่มต้นของกระบวนการมาในทิศทางของทางเส้นอากาศอิ่มตัวโดยที่เส้นของกระบวนการจะขนานกับเส้นอุณหภูมิกระเปาะแห้งดังรูปที่ 14 ในส่วนของความร้อนที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ก็เป็นความร้อนสัมผัสเช่นกัน
6.2 กระบวนการลดความชื้น (Dehumiditification Process) ได้มีการกล่าวถึงคุณสมบัติต่าง ๆ ของความชื้นตั้งแต่ตอนแรก ๆ ของบทความนี้แล้ว เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่าที่สภาวะความดันคงที่ถ้าอุณหภูมิลดลงความชื้นสัมพัทธ์จะเพิ่มขึ้น ดังนั้นในการควบคุมสภาวะอากาศให้มีค่าความชื้นสัมพัทธ์น้อยที่อุณหภูมิต่ำนั้นเราสามารถที่จะทำได้โดยวิธีการดังนี้คือ
รูปที่ 15 แสดงการลดความชื้นโดยการลดอุณหภูมิของอากาศ รูปที่ 16 แสดงวงจรลดความชื้น (Air Dryer) ของเครื่องอัดอากาศ
6.2.1 การลดความชื้นโดยการลดอุณหภูมิ (Dehumiditification by Cooling)
คือการลดอุณหภูมิของอากาศ ณ จุดที่เป็นจุดลดความชื้นให้ลดลงจนถึงจุดน้ำค้าง (Tdp) ของอากาศ ตัวอย่างที่เราสามารถเห็นได้ก็คือในห้องที่ติดเครื่องปรับอากาศขนาดเล็ก เราจะเห็นว่าที่ด้านล่างของคอยล์เย็นของเครื่องปรับอากาศจะมีถาดรองน้ำรองอยู่ซึ่งเป็นที่รองไอน้ำที่ควบแน่นจากการกลั่นตัวนั่นเอง โดยหลักการทำงานง่ายก็คือสมมติในห้องปรับอากาศที่อุณหภูมิ 25 เซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 50% ดังนั้นอุณหภูมิหยดน้ำค้างของอากาศที่สภาวะดังกล่าวจะอยู่ที่ประมาณ 13.8 เซลเซียส และที่คอล์ยเย็นของเครื่องปรับอากาศจะมีอุณหภูมิประมาณ 7 เซลเซียส ดังนั้นเมื่ออากาศถูกดูดเข้าใกล้คอล์ยเพื่อลดอุณหภูมิของอากาศดังกล่าวและเมื่อที่จุดดังกล่าวมีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดน้ำค้างของอากาศจึงทำให้ความชื้นในอากาศเกิดการกลั่นตัวกลายเป็นน้ำ ทำให้ปริมาณความชื้นในอากาศลดลง สำหรับเส้นการลดความชื้นด้วยการลดอุณหภูมินั้นจะแสดงดังรูปที่ 15 อีกตัวอย่างหนึ่งก็คือการลดปริมาณน้ำในลมอัดของเครื่องอัดลม (Air Compressor) ดังวงจรในรูปที่ 16
คือการลดอุณหภูมิของอากาศ ณ จุดที่เป็นจุดลดความชื้นให้ลดลงจนถึงจุดน้ำค้าง (Tdp) ของอากาศ ตัวอย่างที่เราสามารถเห็นได้ก็คือในห้องที่ติดเครื่องปรับอากาศขนาดเล็ก เราจะเห็นว่าที่ด้านล่างของคอยล์เย็นของเครื่องปรับอากาศจะมีถาดรองน้ำรองอยู่ซึ่งเป็นที่รองไอน้ำที่ควบแน่นจากการกลั่นตัวนั่นเอง โดยหลักการทำงานง่ายก็คือสมมติในห้องปรับอากาศที่อุณหภูมิ 25 เซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 50% ดังนั้นอุณหภูมิหยดน้ำค้างของอากาศที่สภาวะดังกล่าวจะอยู่ที่ประมาณ 13.8 เซลเซียส และที่คอล์ยเย็นของเครื่องปรับอากาศจะมีอุณหภูมิประมาณ 7 เซลเซียส ดังนั้นเมื่ออากาศถูกดูดเข้าใกล้คอล์ยเพื่อลดอุณหภูมิของอากาศดังกล่าวและเมื่อที่จุดดังกล่าวมีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดน้ำค้างของอากาศจึงทำให้ความชื้นในอากาศเกิดการกลั่นตัวกลายเป็นน้ำ ทำให้ปริมาณความชื้นในอากาศลดลง สำหรับเส้นการลดความชื้นด้วยการลดอุณหภูมินั้นจะแสดงดังรูปที่ 15 อีกตัวอย่างหนึ่งก็คือการลดปริมาณน้ำในลมอัดของเครื่องอัดลม (Air Compressor) ดังวงจรในรูปที่ 16
6.2.2 การลดความชื้นโดยวิธีการดูดซึมความชื้น (Dehumiditification by Absorption)การลดความชื้นแบบนี้เป็นการใช้วัสดุดูดซึมความชื้น (Absorption Material) เช่น ซิลิก้าเจล เป็นตัวลดความชื้นออกจากอากาศ การลดความชื้นวิธีนี้จึงไม่จำเป็นต้องลดอุณหภูมิดังแสดงในรูปที่ 17 เมื่อเรานำวัสดุดูดความชื้นมาวาง วัสดุดูดความชื้นก็จะดูดไอน้ำหรือความชื้นในอากาศออกจากอากาศในระบบนั้น เป็นผลให้ความชื้นในอากาศลดลงโดยที่อุณหภูมิของอากาศคงที่
รูปที่ 17 การลดความชื้นโดยใช้วัสดุดูดความชื้น
6.3 กระบวนการเพิ่มความชื้น (Humidity Process)ในกรณีที่สภาวะอากาศรอบ ๆ ระบบนั้นมีความชื้นน้อยแต่เราต้องการให้มีความชื้นมากภายในระบบ เช่น ในระบบปรับอากาศในเมืองหนาวที่ใช้ฮีทเตอร์เป็นตัวเพิ่มอุณหภูมิของอากาศแต่ความชื้นของระบบยังไม่ได้ตามที่ต้องการ ดังนั้นจึงต้องมีกระบวนการเพิ่มความชื้นให้กับระบบซึ่งวิธีการส่วนใหญ่ที่ทำกันคือ
6.3.1 การการเพิ่มความชื้นโดยการเติมไอน้ำเข้าสู่ระบบ (Humidification by Steam) เมื่อเราเติมไอน้ำเข้าไปปะปนในอากาศ ไอน้ำก็จะเจือปนอยู่กับอากาศในระบบทำให้ภายในระบบดังกล่าวมีความชื้นมากขึ้นตามที่ต้องการ สำหรับในแผนภูมิไซโครเมตริกชาร์ตนั้นจะแสดงดังรูปที่ 18 โดยที่กระบวนการจะเริ่มที่อุณหภูมิเริ่มต้นและเมื่อไอน้ำค่อย ๆ เข้าไปในระบบแล้วความชื้นในระบบจะค่อย ๆ เพิ่มโดยที่อุณหภูมิกระเปาะแห้งยังคงที่ส่วนตัวแปรที่เปลี่ยนไปคือค่าความชื้นสัมพัทธ์และอุณหภูมิกระเปาะเปียกดังรูป เราจะสังเกตได้ว่าเมื่อเราเพิ่มความชื้นเข้าไปในระบบเรื่อย ๆ ค่าตัวแปรหนึ่งที่เปลี่ยนตามคือค่าอัตราส่วนความชื้นที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่ามวลของไอน้ำที่เราเติมเข้าไปนั้นมากขึ้นนั่นเอง
รูปที่ 18 การเพิ่มความชื้นโดยเติมไอน้ำเข้าสู่ระบบ
6.3.2 การเพิ่มความชื้นโดยการทำให้อากาศเย็นโดยการระเหย (Humidification by Evaporative Cooling) คือการเพิ่มความชื้นในขณะที่ทำการลดอุณหภูมิไปในเวลาเดียวกันตัวอย่างของกระบวนการนี้ให้เรานึกถึงพัดลมแบบที่มีช่องใส่น้ำแข็งอยู่ที่ด้านหน้าของใบพัดดังรูปที่ 19 สมมติว่าเราเอาพัดลมตัวนี้ไปวางไว้ในห้อง เมื่อพัดลมเริ่มทำงานพัดลมก็จะเป่าทำให้น้ำแข็งระเหยกลายเป็นไอเย็นออกมาทำให้อุณหภูมิรอบ ๆ พัดลมนั้นค่อย ๆ เย็นลง แต่ขณะเดียวกันนั้นปริมาณไอน้ำที่เกิดจากการระเหยก็จะค่อย ๆ มากขึ้นทำให้ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศค่อย ๆ มากขึ้น ๆ ไปด้วย สำหรับกระบวนการในแผนภูมิไซโครเมตริกจะเป็นไปและมีทิศทางดังรูปที่ 20
รูปที่ 19 พัดลมแบบเติมน้ำแข็ง
รูปที่ 20 การเพิ่มความชื้นแบบทำให้อากาศเย็นโดยการระเหย
จากที่กล่าวในเรื่องของกระบวนการต่าง ๆ ของการเปลี่ยนแปลงของอากาศที่กล่าวมาในข้างต้นพอจะสรุปกระบวนการต่าง ๆ ในรูปของแผนภูมิไซโครเมตริกได้ดังรูปที่ 20 ในการพิจารณาทิศทางของกระบวนการต่าง ๆ นั้น ให้เราพลอตที่จุดแรกของสภาวะอากาศลงในแผนภูมิไซโครเมตริก จากนั้นเราก็พลอตค่าสภาวะอากาศจุดที่สองลงในแผนภูมิไซโครเมตริก เมื่อเราได้จุดทั้งสองจุดแล้วก็จากเส้นจากจุดแรกไปยังจุดที่สอง จากนั้นเราก็ได้เส้นของกระบวนการที่เกิดขึ้นและสามารถพิจารณาได้ว่ากระบวนการดังกล่าวเป็นกระบวนการไหน
รูปที่ 21 สรุปกระบวนการการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของอากาศ
เพื่อความเข้าใจกระบวนการต่าง ๆ ของการเปลี่ยนแปลงของอากาศมากยิ่งขึ้น จึงขอยกตัวอย่างประกอบดังนี้
ตัวอย่าง พิจารณาอากาศในห้องที่ความดันบรรยากาศห้องหนึ่งที่อุณหภูมิ 20 เซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 40% ให้ใช้แผนภูมิไซโครเมตริกหาค่าต่าง ๆ ของอากาศดังต่อไปนี้
ก) อัตราส่วนความชื้น (Humidity Ratio, )
ข) อุณหภูมิกระเปาะเปียก (Wet Bulb Temperature, Tdb)
ค) อุณหภูมิหยดน้ำค้าง (Dew Point Temperature)
ง) ปริมาตรจำเพาะของอากาศ (Specific Volume)
จ) เอลทาลปี้หรือระดับพลังงานของอากาศ (Enthalpy, h)
จากแผนภูมิไซโครเมตริกรูปที่ 22 เมื่อเราทราบค่าอุณหภูมิซึ่งเป็นอุณหภูมิกระเปาะแห้งและความชื้นสัมพัทธ์ ให้เราพลอตจุดลงที่จุดตัดระหว่างเส้นอุณหภูมิกระเปาะแห้ง 20 เซลเซียส และเส้นความชื้นสัมพัทธ์ 40% เราจะได้จุด A ซึ่งเป็นจุดที่ตรงกับคุณสมบัติของอากาศ ณ จุดนั้น
รูปที่ 22 แผนภูมิไซโครเมตริกตามตัวอย่างที่ 1
จากนั้นเราก็ทำการหาค่าต่าง ๆ ที่ต้องการโดย
ก. อัตราส่วนความชื้น ให้เราลากเส้นจากจุด A ไปทางขวามือโดยขนานไปกับแกนของอุณหภูมิกระเปาะแห้งไปตัดกับเส้นอัตราส่วนความชื้น(Humidity ratio, ) จากนั้นเราก็พลอทตรงจุดตัดที่จุด B และเทียบอัตราส่วนจากจากสเกลค่าที่จุดดังกล่าวเราก็จะได้อัตราส่วนความชื้นเท่ากับ 0.0058 kg/kg Dry Air หรือ 5.8กรัม /kg Dry Air
ข. อุณหภูมิกระเปาะเปียก ให้เราลากเส้นจากจุด A ให้ขนานไปกับเส้นอุณหภูมิกระเปาะเปียกไปจนตัดกับเส้นอากาศอิ่มตัวจากนั้นเราก็พลอทจุดตรงจุดตัดระหว่างสองเส้นดังกล่าวที่จุด C และเทียบอัตราส่วนระหว่างเส้นอุณหภูมิกระเปาะเปียกสองเส้นที่จุดดังกล่าวเราก็จะได้ค่าอุณหภูมิกระเปาะเปียกเท่ากับ 12.35 เซลเซียส
ค. อุณหภูมิหยดน้ำค้าง หาได้โดยการลากเส้นไปทางซ้ายมือของจุดA โดยให้ขนานไปกับเส้นอุณหภูมิกระเปาะแห้งไปจนตัดกับเส้นอากาศอิ่มตัวที่จุด D และเทียบอัตราส่วนระหว่างเส้นอุณหภูมิหยดน้ำค้างสองเส้นที่จุดดังกล่าว เราก็จะได้ค่าอุณหภูมิหยดน้ำค้าง 6 เซลเซียส หมายความว่าถ้าวางวัตถุไดก็ตามที่มีอุณหภูมิ 6 เซลเซียส ที่สภาวะนี้ก็จะมีหยดน้ำที่เกิดจากการกลั่นตัวของไอน้ำมาเกาะที่วัตถุดังกล่าว
ง. ปริมาตรจำเพาะของอากาศ ให้เราลากเส้นจากจุด A โดยขนานกับเส้นแสดงค่าปริมาตรจำเพาะในแผนภูมิไซโครเมตริกจนไปตัดกับเส้นไอน้ำอิ่มตัวที่จุด E จากนั้นก็เทียบระยะสเกลหาค่า เราจะได้ค่าปริมาตรจำเพาะตรงจุดนี้เท่ากับ 0.838 m3/kg
จ. ค่าเอลทาลปี้หรือระดับพลังงานของอากาศ หาได้โดยลากเส้นจากจุด A ให้ขนานกับเส้น เอลทาลปี้ที่อยู่ด้านนอกของแผนภูมิไซโครเมตริก ให้ไปตัดกับเส้นเอลทาลปี้ที่จุด F จากนั้นก็เทียบสเกลหาค่า เราจะได้ค่าเอลทาลปี้ที่จุดนี้เท่ากับ 34.8 kJ/kg
จากตัวอย่างแรกคงจะทำให้เรามีความเข้าใจถึงการหาค่าต่าง ๆ ในแผนภูมิไซโครเมตริกกันบ้างแล้ว ในการหาค่าต่าง ๆ นั้นตัวแปรที่เราจำเป็นต้องรู้ตัวแปรอย่างน้อย 2 ตัวคือ อุณหภูมิกระเปาะแห้งกับความชื้นสัมพัทธ์ อุณหภูมิกระเปาะเปียกกับอุณหภูมิกระเปาะแห้ง หรืออุณหภูมิกระเปาะแห้งกับอุณหภูมิหยดน้ำค้าง เราถึงจะสามารถหาค่าของคุณสมบัติที่เหลือได้จากแผนภูมิไซโครเมตริก
สรุปจากบทความข้างต้นคงที่จะทำให้ผู้อ่านได้มีความเข้าใจถึงคุณสมบัติของอากาศและการใช้งานแผนภูมิไซโครเมตริกบ้างไม่มากก็น้อย ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เอาความรู้เหล่านี้ไปใช้งานโดยตรงในงานออกแบบระบบปรับอากาศต่าง ๆ แต่การที่เรามีความรู้ทั้งในเรื่องคุณสมบัติของอากาศและแผนภูมิไซโครเมตริกไว้ในบางครั้งก็อาจนำเอาความรู้มาประยุกต์ หรือวิเคราะห์ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นหรือปรับปรุงในงานที่รับผิดชอบอยู่ได้
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น