ความหมายและหลักการทำงานของตู้เย็น
1.นายสุรพัศ โคตุทา
2.นายวีระพงษ์ พลทองสถิตย์
3.นายศุภชัย เหลืองงาม
4.นายอภิวัฒน์ ขันศรีนวล
5.นายไกรเมธ สงวนศิลป์
6.นายเฉลิมชัย ศรีเมืองปุน
แนวคิดพื้นฐานการทำงานของตู้เย็นมาจากหลักการทางฟิสิกส์ โดยใช้หลักที่ว่า ขณะที่ของเหลวเปลี่ยนสถานะเป็นแก๊ส มันจะดูดความร้อน ทดลองทา อัลกฮอลล์ ลงบนผิว จะรู้สึกเย็น เพราะว่าอัลกฮอลล์ระเหยได้เร็ว มันจึงดูดความร้อนออกจากผิวและทำให้เกิดความเย็นขึ้น ของเหลวที่เราใช้ในตู้เย็น เรียกว่า สารทำความเย็น (refrigerant) ซึ่งระเหยที่อุณหภูมิต่ำ ดังนั้นจึงสามารถลดอุณหภูมิภายในตู้เย็นลงต่ำกว่าจุดเยือกแข็งได้
คุณลองนำสารทำความเย็นทาลงหลังแขน (ไม่ควรทำ) และทำให้มันระเหย ผิวของคุณจะเย็นเหมือนถูกแช่แข็งอย่างไงอย่างงั้น
ตู้เย็นมีส่วนสำคัญ 5 ส่วนคือ
กลไกพื้นฐานการทำงานของตู้เย็นเป็นดังนี้
2.นายวีระพงษ์ พลทองสถิตย์
3.นายศุภชัย เหลืองงาม
4.นายอภิวัฒน์ ขันศรีนวล
5.นายไกรเมธ สงวนศิลป์
6.นายเฉลิมชัย ศรีเมืองปุน
แนวคิดพื้นฐานการทำงานของตู้เย็นมาจากหลักการทางฟิสิกส์ โดยใช้หลักที่ว่า ขณะที่ของเหลวเปลี่ยนสถานะเป็นแก๊ส มันจะดูดความร้อน ทดลองทา อัลกฮอลล์ ลงบนผิว จะรู้สึกเย็น เพราะว่าอัลกฮอลล์ระเหยได้เร็ว มันจึงดูดความร้อนออกจากผิวและทำให้เกิดความเย็นขึ้น ของเหลวที่เราใช้ในตู้เย็น เรียกว่า สารทำความเย็น (refrigerant) ซึ่งระเหยที่อุณหภูมิต่ำ ดังนั้นจึงสามารถลดอุณหภูมิภายในตู้เย็นลงต่ำกว่าจุดเยือกแข็งได้
คุณลองนำสารทำความเย็นทาลงหลังแขน (ไม่ควรทำ) และทำให้มันระเหย ผิวของคุณจะเย็นเหมือนถูกแช่แข็งอย่างไงอย่างงั้น
ตู้เย็นมีส่วนสำคัญ 5 ส่วนคือ
- คอมเพรสเซอร์ (Compressor)
- ท่อแลกเปลี่ยนความร้อน ส่วนที่เป็นคอยส์ร้อน มีลักษณะขดไปมาอยู่นอกตู้
- วาวล์ขยาย (Expansion vavle)
- ท่อแลกเปลี่ยนความร้อน ส่วนที่เป็นคอยส์เย็น มีลักษณะขดไปมาอยู่ภายในตู้เย็น
- สารทำความเย็น เป็นของเหลวบรรจุอยู่และไหลเวียนอยู่ภายในตู้
กลไกพื้นฐานการทำงานของตู้เย็นเป็นดังนี้
- คอมเพรสเซอร์อัดสารทำความเย็นที่อยู่ในสถานะแก๊ส ทำให้อุหภูมิและความดันเพิ่มขึ้น (สีส้ม) ผ่านไปยังคอยส์ร้อน อยู่ด้านหลังตู้เย็น ความร้อนถูกระบายออก (ตู้เย็นสมัยใหม่ออกแบบให้สวยงามโดยหลบคอยส์ร้อนไว้ จึงมองไม่เห็น)
- สารทำความเย็นถูกเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว (สีม่วง) ไหลผ่านไปยังวาวล์ขยาย ( Epansion vavle)
- เมื่อผ่านวาวล์ขยาย ความดันจะลดลงอย่างรวดเร็ว สารทำความเย็นที่อยู่ในสถานะของเหลว เปลี่ยนเป็นแก๊สในทันที (สีน้ำเงิน)
- สารทำความเย็นไหลผ่านเข้าไปในคอยส์เย็น และดูดความร้อนจากภายในตู้ออกมา ต่อจากนั้นผ่านเข้าไปในคอมเพรสเซอร์ และถูกอัด เป็นวัฎจักรเข้าสู่ขั้นตอนที่หนึ่ง
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น